นอนไม่หลับรักษาได้โดยไม่ใช้ยานอนหลับ ด้วยสังคมและสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียด พบคนไข้ที่มาปรึกษาเรื่องนอนไม่หลับมีมาก และจำนวนไม่น้อยที่ติดยานอนหลับ อาการนอนไม่หลับไม่ใช่แค่หลับยาก ยังรวมถึง §  หลับแล้วตื่นง่าย §  หลับไม่สนิท §  ฝันมากจนรู้สึกเหมือนไม่ได้นอน §  หลับ ๆ ตื่น ๆ §  หลับได้แต่ตื่นเร็ว §  ตื่นเช้ายังรู้สึกไม่สดชื่น นอนไม่เต็มอิ่ม เมื่อมีปัญหานอนไม่หลับ ทำให้ไม่กระปรี้กระเปร่า ง่วงนอน ขี้ลืม สมองไม่ตื่นตัว คิดอะไรไม่ค่อยจะออก  บางคนต้องอาศัยการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังเพื่อให้ตื่นตัว เมื่อปรึกษาแพทย์ส่วนใหญ่จะได้ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับเพื่อให้หลับได้ดีขึ้น ปัญหาที่มักเจอคือหยุดยาไม่ค่อยได้ มีทางแก้ไขไหม ทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีกล่าวถึงปัญหานอนไม่หลับมาช้านาน การรักษาจะดูที่สาเหตุ การจะเป็นการบำรุง และปรับสมดุล ไม่มีการใช้ยานอนหลับ สาเหตุแยกให้เข้าใจง่าย ๆ เป็น 3 สาเหตุ 1.สาเหตุจากการเจ็บป่วย(生病失眠) เมื่อเกิดการเจ็บป่วยในร่างกาย ทำให้เหว่ยชี่(卫气 เป็นชี่ชั้นนอกสุด เสมือนพลังงานด่านแรกที่ปกป้องร่างกาย)ไหลเวียนบกพร่อง ทำให้การไหลเวียนของหยินหยางในร่างกายบกพร่องไปด้วยทำให้นอนไม่หลับ 2.สูงอายุแล้วนอนไม่หลับ(年老失眠) ในผู้สูงอายุการไหลเวียนของชี่ชั้นในและชั้นนอกพร่อง จากความเสื่อมตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ทำงานหนักและใช้สมองมาก ขาดการพักผ่อน และขาดการดูแลสุขภาพในวัยหนุ่มสาว ทำให้การไหลเวียนของเลือดลม พลังงานขัดเคลื่อนในร่างกายพร่อง กลางวันอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กลางคืนแม้จะเพลียก็หลับยาก 3.พลังหยินพร่อง(阴虚失眠) ในร่ายกายมีทั้งหยินและหยาง ต้องอยู่ในภาวะสมดุล เกื้อกูลกันและกัน ควบคุมกันและกัน เพื่อไม่ให้ขาดและเกินเปรียบเสมือนน้ำกับไฟในร่างกาย ไม่ให้ด้านใดด้านหนึ่งเด่นเกิน หรือพร่องเกิน ภาวะพลังหยินพร่องเกิดจากความตึงเครียด การพักผ่อนไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ทั้งห้า(ดีใจ โกรธ วิตก เศร้า กลัว)ที่มีมากเกินไป  การรับประทานอาหารที่มีหยางมากเกินเช่น อาหารรสเผ็ดร้อน ของทอด ปิ้ง ย่าง เมื่อหยิน(阴)พร่อง หมายถึงด้านพลังเย็น น้ำ-ความชุ่มชื้น ในร่างกายพร่อง หยางในร่างกายจะเด่น นอกจากจะนอนไม่หลับ คุณภาพในการนอนไม่ดีแล้ว อาการอื่น ๆ ที่ที่แสดงว่าหยางในร่างกายเด่น เช่น  คอแห้ง ร้อนในง่าย ท้องผูก ปัสสาวะเข้ม มีสิวอักเสบ เป็นต้น การรักษานอนไม่หลับนั้นปรับชี่หรือพลังงานในร่างกาย บำรุงหยินให้สมดุลกับหยาง ไม่ว่าด้วยการฝังเข็มหรือด้วยยาสมุนไพร ไม่มีการใช้ยานอนหลับในการรักษา สำหรับคนที่มีปัญหานอนไม่หลับมานาน ต้องใช้ยานอนหลับประจำ ไม่ควรหยุดยาทันทีหลังรักษาด้วยยาหรือฝังเข็ม ควรทานยาเดิมร่วมในช่วงแรก แล้วค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยาในที่สุด
 คนส่วนใหญ่จะรู้จักการฝังเข็ม รู้ว่าสามารถรักษาอาการได้หลายอย่าง แล้วฝังเข็มความงาม(Cosmetic Acupuncture)คืออะไร แตกต่างกับการฝังเข็มทั่วไปอย่างไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร และช่วยให้งามได้จริงหรือไม่                 การฝังเข็มความงามมีมานานแล้ว มีการกล่าวถึงฝังเข็มรักษา สิว ฝ้า ผิวอักเสบ มากว่าสองพันปีแล้ว หลักการรักษาเหมือนกันกับการฝังเข็มรักษาโรคเป็นการปรับสมดุล ว่าด้วยทฤษฎี หยิน-หยาง ห้าธาตุ(ไม้ ไฟ ดิน โลหะ น้ำ) ผ่านจุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณทั่วร่างกายทั้ง 14 เส้น โดยไม่ได้ดูแลเฉพาะปัญหาผิวหน้าอย่างเดียว ยังดูแลปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุของปัญหาผิวหน้าด้วย เช่น ประจำเดือนผิดปกติ ท้องผูก ปัญหาการนอนหลับ  การฝังเข็มใช้เข็มเยอะไหม เจ็บไหม การฝังเข็มผิวหน้าโดยทั่วไปจะใช้จำนวนเข็มมากกว่าฝังเข็มรักษาโรค เนื่องจากต้องการบำรุงทั่วผิวหน้า แต่เจ็บน้อยมากเนื่องจากเข็มที่ใช้ขนาดเล็กว่าที่ใช้ตามร่างกายมาก จะรู้สึกเหมือนโดนสะกิดเล็กน้อยที่ผิวขณะปักเข็มเท่านั้นเอง การทำงานของเข็ม                 ว่าด้วยทฤษฎีศาสตร์การแพทย์แผนจีนเจ้าตำรับของการฝังเข็มจะมองร่างกายเป็นหนึ่งเดียว อวัยวะทุกส่วนมีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ความชื้น ช่วงเวลาก็มีผลต่อร่างกายเช่นกัน ดังนั้นการปักเข็มจะส่งผลต่อต่อการทำงานของระบบอวัยวะภายในทั้งห้า(五脏 :ตับ หัวใจ ม้าม ปอด ไต ซึ่งรายละเอียดการทำการของอวัยวะแตกต่างจากการแพทย์ตะวันตก)มีความสัมพันธ์กับผิวพรรณ เช่น                 หัวใจ(心)สัมพันธ์กับระบบไหลเวียนเลือด                 ปอด(肺) สัมพันธ์กับขนาดของรูขุมขน โครงสร้างเซลผิว                 ม้าม(脾) สัมพันธ์กับการทำงานของต่อมไขมัน ความกระชับของกล้ามเนื้อ                 ตับ(肝) สัมพันธ์กับการทำงานนของเม็ดสี รอยด่างดำ                 ไต(肾) สัมพันธ์กับเส้นผม ริ้วรอยร่องลึก ทางการแพทย์ตะวันตก พยายามศึกษาวิจัยหาคำอธิบาย เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของเข็ม พบว่าการปักเข็มบริเวณผิวหน้าจะส่งผลกับผิวหน้าดังนี้ ·        -  กระตุ้นการทำงานของ hyalulanic acid,collagen และ elastin บนผิวหน้า ·         - เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ ออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงผิวหน้ามากขึ้น ·         - ลดการอักเสบของเซลผิว ·         - กระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเซลผิว ผลของการฝังเข็ม ·         ทำให้ผิวหน้ากระชับขึ้น ·         ช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ·         ริ้วรอยเล็ก ๆ
ไอ จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหล คันจมูก คันคอ บางรายอาจมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ ไม่ได้กลิ่น ร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีอาการเรื้อรัง อาจกำเริบตลอดทั้งปี หรือเฉพาะช่วยที่อากาศเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสารก่อภูมิแพ้ของแต่ละคน ถึงแม้เป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ก่อเกิดความรำคาญต่อการดำรงชีวิต และในระยะยาวอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น  คิดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน  แพ้อากาศเกิดจากฏิกิริยาของเยื่อบุโพรงจมูกที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เมื่อหายใจสูบอากาศที่มีสารก่อภูมิแพ้ผ่านจมูก  เช่น ไรฝุ่น  เกสรดอกไม้ ขนสัตว์เลี้ยงในบ้าน เชื้อรา อากาศชื้น อากาศเย็น อากาศร้อน  สารอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E/IgE) ในร่างกายจะทำปฎิกิริยากับสารก่อนภูมิแพ้ทำให้เกิดอาการ  หลักการรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อลดปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ แนวการรักษาในปัจจุบันมี 3 ทางคือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ สามารถทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ได้ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) รับประทานยาแก้แพ้และยาพ่นจมูก การฉีดวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้  คิดแบบศาสตร์การแพทย์แผนจีน ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีการพูดถึงอาการแพ้อากาศมากว่าสองพันปีมาแล้ว   ด้วยกลไกในร่างกายเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะขับออกด้วยการ ไอ จาม สร้างสารคัดหลั่งเพื่อขับออก ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะที่ชี่พร่อง (ชี่ หมายถึงพลังงานที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายเพื่อป้องกันและรักษา) จะไม่สามารถขจัดสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวได้หมด ร่างกายจึงมีปฏิกิริยาต่อเนื่องเพื่อปกป้องร่างกาย ทำให้มีอาการของภูมิแพ้เรื้อรัง  สาเหตุที่ทำให้ชี่พร่อง แบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยจากภายในเกิดจากร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง สาเหตุ เช่นการใช้งานร่างกายหักโหมเป็นเวลานาน  พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม การทานอาหารไม่ถูกหลัก ขาดการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยจากภายนอกจากนั้น เกิดจากสารก่อโรคความเย็น(寒) ความชื้น(湿) ลม(风邪)เข้ากระทำอวัยวะภายใน  หลักการรักษาบำรุงชี่ ปรับสมดุลหยินหยางและขจัดความเย็น ความชื้นหรือลมที่เข้ากระทบอวัยวะภายใน  วิธีการรักษา ฝังเข็ม ฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคที่ผ่านการวิจัยรับรองโดย WHO  ยาสมุนไพร มีทั้งปรุงเป็นยาหยอดจมูก ยาต้ม ยาเม็ด  นวดกดจุด กวาซา ประสบการณ์การรักษา  การรักษาแพ้อากาศทั้งแผนปัจจุบันและแผนจีนมีจุดเด่นคนละด้าน ยาแผนปัจจุบันรักษาอาการได้เร็ว ส่วนแผนจีนรักษาโดยถอนรากเง้าของโรค จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะใช้ทั้งสองแผนร่วมกัน โดยช่วงแรกใช้ทั้งยาแผนปัจจุบัน ฝังเข็มและยาสมุนไพร ผู้ป่วยจะค่อย ๆ ลดยาแผนปัจจุบัน เมื่อไม่มีอาการแพ้อากาศแล้ว จะหยุดฝังเข็ม และรับประทานยาสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอีกระยะเพื่อไม่ให้โรคกำเริบ ระยะเวลาในการรักษาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ การตอนสนองของร่างกาย ที่สำคัญการดูแลร่างกายของผู้ป่วยเอง ส่วนใหญ่จะเห็นผลภายใน 1